เทคโนโลยีอาคาร

28 05 2009

สถาปัตยกรรมยั่งยืน: จากทางเลือกสู่สายหลัก
ของการออกแบบ

ปัจจุบัน นี้ไม่ว่ามองไปทางไหน หรือรับฟังสื่อต่างๆ เราจะรับรู้ได้ถึงความตื่นตัวเรื่องโลกร้อน โดยเราต่างก็หวังว่าการรณรงค์เพื่อช่วยลดโลกร้อนในประเทศไทย จะมิใช่เพียงกระแสความนิยมที่อาจจางหายไปเช่น กระแสสังคมอื่นๆ ที่มีในอดีตกระแสดังกล่าวสะท้อนอยู่ในวงการออกแบบทั่วๆ ไป และในงานก่อสร้าง สถาปัตยกรรม เช่นเดียวกันจากแนวคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นแนวคิดที่ปรากฏเป็นสากลมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 หลังจากที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประสบปัญหาจากการพัฒนาที่มิได้สัดส่วน และการพัฒนาที่มุ่งแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละยุคสมัย มีการเจริญเติบโตของเมืองรวดเร็วกว่าชนบทมากจนเกิดการอพยพเข้า มาสร้างปัญหาเมืองในรูปแบบต่างๆ มากมายเศรษฐกิจในภาพรวมที่ขยายตัวกลับมีส่วนแบ่งทางรายได้ที่ไม่เท่าเทียม กัน เกิดปัญหาสังคมหลากหลายรูปแบบในขณะที่วัฒนธรรมอันดีงามเริ่มถูกละเลย เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย สร้างความเสื่อมโทรมแก่สิ่งแวดล้อมลงจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน

จน กระทั่งในปี พ.ศ. 2530 มีการตื่นตัวต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อสมัชชาโลกว่าด้วย สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่องค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้น ได้พิมพ์เอกสารชื่อ “Our Common Future” ออกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีสาระเรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตที่ฟุ่มเฟือย และหาวิถีทางการพัฒนาเสียใหม่ให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดของธรรมชาติให้มากขึ้น พร้อมกับได้ให้นิยามถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ว่า

“การ พัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการ
ที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง”

“Sustainable Development is a development that meets the needs of the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs”

พระ ธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้ให้แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้เช่นกัน โดยได้อธิบายไว้ว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการคือ ทำให้เกิดเป็นองค์รวม ซึ่งหมายความว่า องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์ และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ มีดุลยภาพ หรือถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง คือ การทำให้กิจกรรมมนุษย์สอดคล้องกับเกณฑ์ของธรรมชาติ”

สำหรับ อิทธิพลของแนวคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส่งผลต่องาน สถาปัตยกรรม จากการศึกษาพบว่าทิศทางของโลกที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะภายหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันในยุคทศวรรษ 70 มีความพยายามในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่จะสร้างให้เกิดความสมดุลขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เกิดเป็นแนวคิดของสถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable Architecture) หรือสถาปัตยกรรมเขียว (Green Architecture)

พัฒนาการ ของการออกแบบงานตามแนวทางสถาปัตยกรรมเขียวที่ผ่านมา แม้จะมีจุดเริ่มต้นจากคนบางกลุ่มที่มีแนวคิดด้านการอนุรักษ์พลังงาน และทรัพยากรถูกมองว่าเป็นสถาปัตยกรรมทางเลือก (Alternative) ที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในงานก่อสร้างให้เกิดขึ้นจริง จึงจะเป็นไปได้แต่ในยุคปัจจุบันนี้ด้วยการผลักดันของสภาพแวดล้อมที่ทั้งโลก กำลังร่วมกันเผชิญอยู่ แนวคิดดังกล่าวได้กลายเป็นมิใช่แค่กระแสของสังคมโลก หากแต่เป็นสายหลักที่จำเป็นของสายงานสถาปัตยกรรม (Mainstream) ไปแล้ว

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://thaicontractors.com

JM Tjibaou Cultural Center

ภาพที่ 1 ตัวอย่างสถาปัตยกรรมยั่งยืน JM Tjibaou Cultural Center ใน New Caledonia ผลงานออกแบบได้รางวัลของ Renzo Piano ในปีค.ศ.1994

อาคาร CH2 ของเทศบาลเมืองเมลเบิร์น

ภาพที่ 2 ตัวอย่างสถาปัตยกรรมยั่งยืน อาคาร CH2 ของเทศบาลเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

สถาปัตยกรรม ทางเลือก การก่อสร้างทางเลือก วัสดุทางเลือก คืออะไร จุดเริ่มต้นของการเป็นทางเลือกสำหรับแต่ละสิ่งมีความคล้ายคลึงกันในลักษณะ ที่ว่า ต่างก็เป็นสิ่งที่ได้รับการเสนอขึ้นมาเพื่อเพิ่มทางเลือก หรือคำตอบให้กับโจทย์ใดโจทย์หนึ่ง อาทิในมุมของการก่อสร้างผนังอาคาร อาจสร้างได้จากหลายวัสดุโดยต้องมีสมรรถนะในการปกป้องผู้อาศัยจากสภาพแวดล้อม ที่ไม่พึงประสงค์ บ้านดินของไทยสะท้อนให้เห็นการใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นคือ ดิน หรือทราย ซึ่งเป็นดินที่มีความละเอียดสูงถึงขั้นเป็นทราย (Sand) ในบางพื้นที่นิยมผสมกับซีเมนต์สร้างเป็นบล็อกประสาน เป็นวัสดุทางเลือกที่ชาวบ้านสามารถผลิตได้เอง และก่อสร้างได้รวดเร็ว ได้รับการส่งเสริมเผยแพร่เทคโนโลยีจนได้รับความนิยมในหลายภูมิภาคของประเทศ

บ้านดิน

ภาพที่ 4 ตัวอย่างบ้านดิน จ.กาญจนบุรี

บล็อกประสาน

ภาพที่ 5 บล็อกประสาน หนึ่งในวัสดุทางเลือก

จาก ทางเลือกดังกล่าว เมื่อมีคนถือปฏิบัติเป็นจำนวนมาก มีการทดลองใช้ผ่านการทดสอบ หรือได้พิสูจน์จนมั่นใจได้นำมาสู่การเป็นมาตรฐานที่ยึดถือปฏิบัติ เช่น มาตรฐานชุมชน การพัฒนาของทางเลือก ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ระบบการก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรมก็ดี จึงเป็นเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง จากการเป็นเพียงทางเลือกมาสู่การเป็นสายหลักเช่น การเกิดวัสดุที่ได้มาตรฐานการก่อสร้างที่เป็นมาตรฐาน รวมไปจนถึงการออกแบบที่เป็นมาตรฐานทั้งทางเลือก และสายหลักต่างก็มีข้อดีข้อเด่นของตนเอง และมีการพัฒนาแปรเปลี่ยนโดยไม่หยุดนิ่งจากแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมยั่งยืนจะ เกิดขึ้นได้จากบูรณาการศาสตร์ในด้านต่างๆ ทั้งสายหลัก และทางเลือกก็ควรได้มีการประสานบูรณาการกัน มีการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำไปสู่สถาปัตยกรรมยั่งยืนที่เราฝันหา


เลือกคำสั่ง

Information

ใส่ความเห็น